วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่15

บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ (EAED2209)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.00 น.

วันนี้อาจารย์สอนในหัวข้อ เด็กสมาธิสั้น
สรุปความรู้ที่ได้รับ ดังนี้



จากนั้นอาจารย์ก็ให้ดู VDO โทรทัศน์ครูเรื่อง "ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ"




และอาจารย์ก็ให้สรุปความรู้เรื่อง "ศูนย์ EI"



วันนี้ชอบบรรยากาศในการนั่งเรียนแบบตัว U มากค่ะ หนูว่าดูอบอุ่นและมีความสุขในการเรียนดี

การประเมินผล

ตนเอง>>>>แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนค่ะ
เพื่อน>>>>แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา มีคุยกันบ้างเล็กน้อย
อาจารย์>>>>มีเทคนิคในการสอนที่ดี มีการยกตัวอย่างให้นักศึกษาเห็นภาพจริง และหนูชอบที่อาจารย์                                  เล่าประสบการณ์เกี่ยวกับเด้กพิเศษให้ฟังค่ะ

ครั้งที่14

บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ (EAED2209)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.00 น.

   วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากจัดกิจกรรมในโครงการ   "ครูปฐมวัยร่วมใจอนุรักษ์ความเป็นไทย"  
ซึ่งกลุ่มเรียน 101 ได้รับมอบหมายให้แสดงนิทาน และการแสดงนาฏศิลป์ประยุกต์ ในการแสดงครั้งนี้ดิฉันก็ได้ร่วมการแสดงด้วยค่ะ





ภาพชุดการแสดงของเพื่อนๆ










การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำการแสดงแต่ละชุดการแสดงของเพื่อนไปปรับและประยุกต์ใช้ในงานพิธีหรือโอกาศต่างๆ

การประเมิน

ตนเอง>>>> ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม
เพื่อน>>>>>ให้ความร่วมมือ และมีความสามัคคี ถึงงานจะเยอะและเหนื่อยแค่ไหน ทุกคนก็ช่วยกันจนงานสำเร็จ
อาจารย์>>>> อาจารย์ให้ความช่วยเหลือและคอยเป็นที่ปรึกษาในการจัดงานครั้งนี้ ทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี 
                     เข้าใจความรู้สึกของนักศึกษา  อาจารย์น่ารักมากค่ะ ขอบคุณอาจารย์มากนะคะที่คอยให้กำลังใจพวกหนู                        มาตลอด

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ (EAED2209)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.00 น.

ความรู้ที่ได้รับสรุปได้ดังนี้

การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมที่มีความต้องการพิเศษ


ดาวน์ซินโดรม



เด็กออทิสติก





วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ (EAED2209)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.00 น.

วันนี้อาจารย์บอกคะแนนสอบ และเฉลยข้อสอบ ผลการสอบของดิฉันยังไม่ค่อยน่าพอใจเท่าไหร่ แต่การสอบปลายภาคดิฉันหวังว่าคะแนนน่าจะออกมาดีกว่านี้ เพราะการสอบครั้งนี้ทำให้รู้จุดบกพร่องของตัวเองและพอรู้แนวข้อสอบแล้วว่าอาจารย์จะออกข้อสอบมาแนวไหน และจะทบทวนให้มากกว่านี้คะ

ครั้งที่ 11



บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ (EAED2209)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.00 น.

สอบกลางภาค นอกตารางของรายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


การสอบ
                การสอบหรือการทดสอบ  เป็นการกำหนดจำนวน ปริมาณ หรือคุณลักษณะของพฤติกรรมหรือความสามารถของบุคคลโดยใช้ข้อสอบเป็นเครื่องมือหรือเป็นสิ่งเร้าดังนั้นการสอบหรือการทดสอบก็คือการวัดผลการศึกษาอย่างหนึ่งซึ่งใช้ข้อสอบทำหน้าที่เป็นเครื่องมือวัดความสามารถของบุคคลซึ่งจัดว่าเป็นวิธีการที่ใช้กันมากและแพร่หลายที่สุดทุกครั้งที่มีการสอบจนในบางครั้งสามารถใช้คำว่าการสอบแทนการวัดผลการศึกษาซึ่งในการสอบจะมีองค์ประกอบ ประการ  คือ
           1.  บุคคล  ซึ่งถูกวัดคุณลักษณะความสามารถ
           2.  ข้อสอบ  ซึ่งทำหน้าที่เป็นสิ่งเร้า
           3.  การดำเนินการสอบ  ซึ่งจะต้องกระทำให้เกิดความยุติธรรมแก่ผู้เข้าสอบอย่างเสมอหน้ากันทุกคนหลีก             เลี่ยงการรบกวนของผู้คุมสอบในขณะที่ผู้สอบกำลังใช้ความคิด
         4.  ผลการสอบ  ซึ่งแทนความสามารถสูงสุดของแต่ละบุคคล

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ (EAED2209)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.00 น.



ความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์อสรุปเป็น Mind Map  ดังนี้


  
v พ่อแม่ ผู้ปกครองจะช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาลูกที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ได้อย่างไร?
v ความร่วมมือของพ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญที่จะผลักดันให้การรักษาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ของลูกสัมฤทธิ์ผล โดยพ่อแม่ควรปรึกษาจิตแพทย์และผู้เชี่ยวชาญอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าลูกมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ความพยายามร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นจิตแพทย์ โรงเรียน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปกครอง มักนำมาซึ่งความสำเร็จเสมอ ทั้งนี้เพราะร้อยละ 60 ถึง 80 ของผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ชนิดรุนแรง เช่น โรคจิตเภท (Schizophrenia) โรคซึมเศร้า (Major Depression) และโรคอารมณ์แปรปรวน (Bipolar Disorder) ล้วนมีแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมไปในทางบวกเมื่อได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม พ่อแม่ซึ่งเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดและมีความสำคัญกับเด็กมากที่สุด จึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็ก โดยวิธีการที่ผู้ปกครองควรกระทำต่อลูกเพื่อสนับสนุนการรักษาดังกล่าว ได้แก่
v พ่อแม่ควรตระหนักถึงบทบาทของตนเอง และความสำคัญของการแก้ไขปัญหาของลูกที่บ้าน โดยการช่วยให้ลูกเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการแสดงออก รวมถึงปรับเปลี่ยนทัศนคติ
v ชี้ให้ลูกเห็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่ลูกแสดงออก และแสดงตัวอย่างการกระทำที่เหมาะสมให้ลูกเห็น พร้อมทั้งสนับสนุนให้เขาปฏิบัติตาม
v ตั้งกฎภายในบ้านให้ชัดเจน และบังคับใช้อย่างสมเหตุสมผล โดยระมัดระวังไม่ให้เคร่งครัดจนเกินไป เพราะอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ลูกเครียดหรือรู้สึกกดดัน อันจะนำไปสู่ปัญหาที่เพิ่มมากขึ้น
v ชมเชยเมื่อลูกสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบในบ้านและในสังคมได้ดี
v ดูแลลูกด้วยความรัก ความเอาใจใส่ และความอดทน รวมถึงเคารพการตัดสินใจของลูก เพื่อให้ได้รับความร่วมมือจากเด็กกลับคืนมาเช่นกัน
v หมั่นสังเกตแนวโน้มของพฤติกรรมของลูก หากลูกมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป พ่อแม่ควรหาสาเหตุของปัญหา เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด เช่น ความเครียด ความกลัว หรือภาวะซึมเศร้า เป็นต้น



การประเมินผลหลังการเรียนการสอน
  การประเมินตนเอง >>>> เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบและมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม มีความสุขและะสนุกกับการเรียน
 การประเมินเพื่อน  >>>> มีความสุขและสนุกกบกาารเรียน  ร่วมตอบคำถาม  ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
 การประเมินอาจารย์ ->>>>การแต่งกายสะอาดสุภาพ  เข้าสอนตรงต่อเวลา  และอธิบายการสอนได้อย่างละเอียด มีเทคนิคการสอนที่ดีทำให้นักศึกษาได้รับความรู้และความสุขไปพร้อมๆกัน







ครั้งที่ 9


บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ (EAED2209)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.00 น.




ความรู้ที่ได้รับ

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรีบนรู้




 ความบกพร่องทางการเรียนรู้ หมายถึง เป็นความบกพร่องของกระบวนการเรียนรู้ที่แสดงออกทางด้านปัญหาการอ่าน  การเขียนสะกดคำ การคำนวณและเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง เมื่อพิจารณาผลการเรียนเปรียบเทียบกับระดับสติปัญญาและชั้นเรียน

ความบกพร่องในการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ
1. ความบกพร่องด้านการอ่าน (Reading Disorder)
อ่านหนังสือไม่ออกเลย หรืออ่านหนังสือได้ไม่เหมาะสมตามวัย เช่น สะกดไม่ถูก อ่านตกหล่น อ่านทีละตัวอักษรได้แต่ผสมคำไม่ได้ แยกแยะพยัญชนะที่คล้ายกันไม่ออก (ก - ถ - ภ) ทั้งๆที่เด็กดูมีความ ฉลาดรอบรู้ในด้านอื่นๆ ถ้ามีใครเล่าเรื่องให้ฟังจะเข้าใจดี เรียนรู้จากการเห็นภาพ และการฟัง จะทำได้ดี แต่ถ้าให้อ่านเองจะไม่ค่อยรู้เรื่อง จับใจความไม่ได้
2. ความบกพร่องด้านการเขียน (Disorder of Written Expression)
มีปัญหาในด้านการเขียนหนังสือ ตั้งแต่เขียนหนังสือไม่ได้ทั้งๆที่รู้ว่าอยากจะเขียนอะไร เขียนตกหล่น สลับตำแหน่ง หรือผิดตำแหน่ง เขียนไม่เป็นประโยคที่สมบูรณ์ ใช้คำเชื่อมไม่ถูกต้อง เว้นวรรคตอนหรือย่อหน้าไม่ถูกต้อง จนทำให้ผู้อ่านไม่สามารถเข้าใจความหมายที่ผู้เขียนต้องการสื่อได้ถูกต้อง
3. ความบกพร่องด้านการคำนวณ (Mathematics Disorder)
มีปัญหาในด้านการคำนวณ ตามระดับความรุนแรง หลากหลายรูปแบบ เช่น มีความสับสนเกี่ยวกับเรื่องตัวเลข ไม่เข้าใจเรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร ไม่สามารถแปลโจทย์ปัญหาเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ มีการคำนวณที่ผิดพลาด ตกหล่นเกี่ยวกับเรื่องตัวเลขเป็นประจำ
เทคนิคการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

                หลักสูตรสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้เฉพาะทาง จะมุ่งเน้นแก้ไขข้อบกพร่อง ปลูกฝังทักษะด้านต่างๆของตนเพื่อพัฒนาศักยภาพของแต่ละบุคคลให้ประสบผลสำเร็จสูงสุด นอกจากนั้นจะมุ่งให้เด็กได้พัฒนาความสามารถ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  หลักสูตรสำหรับเด็กประเภทนี้จะครอบคลุมเนื้อหาที่สำคัญดังนี้
1. ด้านภาษา หลักสูตรจะมุ่งเน้นด้านภาษา เพราะเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะทางที่มีปัญหาทางภาษา จะมีปัญหาทางด้านการพูด อ่าน ฟัง และเขียนสะกดคำ การเปล่งเสียง และจำแนกเสียง
                2. ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็ก การพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น การให้เด็กมีโอกาส นั่ง คลาน เดิน วิ่ง ขว้างปาสิ่งของ กระโดด เต้นตามจังหวะ บอกชื่อตนเองและบอกชื่อส่วนต่างๆของร่างกายได้ ส่วนกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น การวาดภาพ การต่อภาพ การใช้กรรไกร   การใช้สายตาและมือ
                3.ด้านทักษะทางสังคม การช่วยส่งเสริมให้เด็กมีสัมพันธ์กับผู้อื่นสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นและทำงานเป็นหมู่คณะด้วยความราบรื่น รู้จักใช้ทั้งคำพูดและวางตนได้อย่างเหมาะสมทางสังคม
                4. ด้านวิชาความรู้พื้นฐาน ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ สังคมศึกษา และวิทยาศาสตร์ รับรู้ด้านจำนวน ปริมาณ ขนาดรูปทรง ทิศทาง เป็นต้น
                5. ด้านการงานและพื้นฐานอาชีพ หมายถึงการเตรียมเด็กให้มีความรู้และความพร้อมด้านการฝึกทักษะในการประกอบอาชีพให้มีความถนัดและทัศนคติที่ดีต่องานอาชีพ

เด็กออทิสติก


แนวทางการบำบัดรักษาเด็กออทิสติก
วิธีการบำบัดรักษาควรทำเป็นทีมซึ่ง ประกอบด้วย กุมารแพทย์ จิตแพทย์เด็ก นักกิจกรรมบำบัด นักแก้ไขการพูด ครูที่โรงเรียน นักการศึกษาพิเศษ และบุคคลที่สำคัญที่สุด คือคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองที่บ้าน เนื่องจาก การเลี้ยงดูมีผลต่อการส่งเสริม และสนับสนุนให้เด็กมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมได้ 
ดร.แอร์ ซึ่งเป็นนักกิจกรรมบำบัดชาวอเมริกัน ได้อธิบายว่า เด็กออทิสติกจะมีความสามารถของตัวรับความรู้สึกและกระบวนการนำความรู้สึกไปที่สมองผิดปกติ (มากเกินไป หรือน้อยเกินไป) โดยเฉพาะด้านระบบการทรงตัว การรับสัมผัส และการรับความรู้สึกจากเอ็นและข้อ ดังนั้น การรักษาเฉพาะทางกิจกรรมบำบัดสามารถให้การกระตุ้นระบบการประมวลผลการรับข้อมูลความรู้สึก (Sensory Integration System) ของเด็กให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ 
กรณีตัวอย่าง เด็กออทิสติกที่มีภาวะไวต่อการรับสัมผัสมากเกินไป นักกิจกรรมบำบัดจะจัดกิจกรรมในลักษณะที่ให้เด็กมีโอกาสสัมผัสกับวัตถุหลากหลายพื้นผิว เป็นต้น จะเห็นได้ว่า วิธีการและอุปกรณ์เฉพาะด้านที่ใช้บำบัดรักษาเด็กออทิสติกต้องประกอบ ด้วยความรู้ความเข้าใจเฉพาะทาง ฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องเอาใจใส่ ดูแล ช่วยเหลือเด็กด้วยวิธี การที่ถูกต้องและเหมาะสม
คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับคุณพ่อแม่
อย่าเอาใจลูกมากเกินไป ช่วยเหลือเท่าที่จำเป็นและเหมาะสม ส่งเสริมและสนับสนุนการฝึก ของลูกตามคำแนะนำของบุคลากรในทีมการรักษาอย่างจริงจังสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการฝึกทางกิจกรรมบำบัด ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถนำกิจกรรมต่างๆ ไปฝึกให้กับลูกต่อได้ที่บ้านเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ตัวอย่างเช่น ลูกทำร้ายตัวเองให้ใช้การกระตุ้นระบบสัมผัส โดยใช้แปรง แปรงบนบริเวณแขน ขา ลำตัว ร่วมกับการให้แรงกดลึกด้วยลูกบอลขนาดใหญ่ทั่วลำตัว และข้อต่อต่างๆ ทำให้เด็กลดพฤติกรรมทำร้ายตัวเองลง
อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้วิธีการบำบัดรักษา หรือเทคนิคเฉพาะทางกิจกรรมบำบัดควรปรึกษาหรือได้รับความเห็นชอบจากนักกิจกรรมบำบัดที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ก่อนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เนื่องจากเด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีอาการและพฤติกรรมที่มี ระดับความรุนแรงแตกต่างกัน รวมถึงความแตกต่างทางศักยภาพ และความสามารถในการ พัฒนาของเด็กแต่ละราย และปัจจัยอื่นๆ อีก ได้แก่ สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู และความรู้ความเข้าใจ ของคุณพ่อคุณแม่ ฯลฯ

การประเมินผลหลังการเรียนการสอน
 * การประเมินตนเอง - เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบและมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม มีความสุขและะสนุกกับการเรียน
* การประเมินเพื่อน  - มีความสุขและสนุกกบกาารเรียน  ร่วมตอบคำถาม  ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
* การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ  เข้าสอนตรงต่อเวลา  และอธิบายการสอนได้อย่างละเอียด มีเทคนิคการสอนที่ดีทำให้นักศึกษาได้รับความรู้และความสุขไปพร้อมๆกัน