วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 9


บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ (EAED2209)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.00 น.




ความรู้ที่ได้รับ

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรีบนรู้




 ความบกพร่องทางการเรียนรู้ หมายถึง เป็นความบกพร่องของกระบวนการเรียนรู้ที่แสดงออกทางด้านปัญหาการอ่าน  การเขียนสะกดคำ การคำนวณและเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง เมื่อพิจารณาผลการเรียนเปรียบเทียบกับระดับสติปัญญาและชั้นเรียน

ความบกพร่องในการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ
1. ความบกพร่องด้านการอ่าน (Reading Disorder)
อ่านหนังสือไม่ออกเลย หรืออ่านหนังสือได้ไม่เหมาะสมตามวัย เช่น สะกดไม่ถูก อ่านตกหล่น อ่านทีละตัวอักษรได้แต่ผสมคำไม่ได้ แยกแยะพยัญชนะที่คล้ายกันไม่ออก (ก - ถ - ภ) ทั้งๆที่เด็กดูมีความ ฉลาดรอบรู้ในด้านอื่นๆ ถ้ามีใครเล่าเรื่องให้ฟังจะเข้าใจดี เรียนรู้จากการเห็นภาพ และการฟัง จะทำได้ดี แต่ถ้าให้อ่านเองจะไม่ค่อยรู้เรื่อง จับใจความไม่ได้
2. ความบกพร่องด้านการเขียน (Disorder of Written Expression)
มีปัญหาในด้านการเขียนหนังสือ ตั้งแต่เขียนหนังสือไม่ได้ทั้งๆที่รู้ว่าอยากจะเขียนอะไร เขียนตกหล่น สลับตำแหน่ง หรือผิดตำแหน่ง เขียนไม่เป็นประโยคที่สมบูรณ์ ใช้คำเชื่อมไม่ถูกต้อง เว้นวรรคตอนหรือย่อหน้าไม่ถูกต้อง จนทำให้ผู้อ่านไม่สามารถเข้าใจความหมายที่ผู้เขียนต้องการสื่อได้ถูกต้อง
3. ความบกพร่องด้านการคำนวณ (Mathematics Disorder)
มีปัญหาในด้านการคำนวณ ตามระดับความรุนแรง หลากหลายรูปแบบ เช่น มีความสับสนเกี่ยวกับเรื่องตัวเลข ไม่เข้าใจเรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร ไม่สามารถแปลโจทย์ปัญหาเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ มีการคำนวณที่ผิดพลาด ตกหล่นเกี่ยวกับเรื่องตัวเลขเป็นประจำ
เทคนิคการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

                หลักสูตรสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้เฉพาะทาง จะมุ่งเน้นแก้ไขข้อบกพร่อง ปลูกฝังทักษะด้านต่างๆของตนเพื่อพัฒนาศักยภาพของแต่ละบุคคลให้ประสบผลสำเร็จสูงสุด นอกจากนั้นจะมุ่งให้เด็กได้พัฒนาความสามารถ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  หลักสูตรสำหรับเด็กประเภทนี้จะครอบคลุมเนื้อหาที่สำคัญดังนี้
1. ด้านภาษา หลักสูตรจะมุ่งเน้นด้านภาษา เพราะเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะทางที่มีปัญหาทางภาษา จะมีปัญหาทางด้านการพูด อ่าน ฟัง และเขียนสะกดคำ การเปล่งเสียง และจำแนกเสียง
                2. ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็ก การพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น การให้เด็กมีโอกาส นั่ง คลาน เดิน วิ่ง ขว้างปาสิ่งของ กระโดด เต้นตามจังหวะ บอกชื่อตนเองและบอกชื่อส่วนต่างๆของร่างกายได้ ส่วนกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น การวาดภาพ การต่อภาพ การใช้กรรไกร   การใช้สายตาและมือ
                3.ด้านทักษะทางสังคม การช่วยส่งเสริมให้เด็กมีสัมพันธ์กับผู้อื่นสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นและทำงานเป็นหมู่คณะด้วยความราบรื่น รู้จักใช้ทั้งคำพูดและวางตนได้อย่างเหมาะสมทางสังคม
                4. ด้านวิชาความรู้พื้นฐาน ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ สังคมศึกษา และวิทยาศาสตร์ รับรู้ด้านจำนวน ปริมาณ ขนาดรูปทรง ทิศทาง เป็นต้น
                5. ด้านการงานและพื้นฐานอาชีพ หมายถึงการเตรียมเด็กให้มีความรู้และความพร้อมด้านการฝึกทักษะในการประกอบอาชีพให้มีความถนัดและทัศนคติที่ดีต่องานอาชีพ

เด็กออทิสติก


แนวทางการบำบัดรักษาเด็กออทิสติก
วิธีการบำบัดรักษาควรทำเป็นทีมซึ่ง ประกอบด้วย กุมารแพทย์ จิตแพทย์เด็ก นักกิจกรรมบำบัด นักแก้ไขการพูด ครูที่โรงเรียน นักการศึกษาพิเศษ และบุคคลที่สำคัญที่สุด คือคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองที่บ้าน เนื่องจาก การเลี้ยงดูมีผลต่อการส่งเสริม และสนับสนุนให้เด็กมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมได้ 
ดร.แอร์ ซึ่งเป็นนักกิจกรรมบำบัดชาวอเมริกัน ได้อธิบายว่า เด็กออทิสติกจะมีความสามารถของตัวรับความรู้สึกและกระบวนการนำความรู้สึกไปที่สมองผิดปกติ (มากเกินไป หรือน้อยเกินไป) โดยเฉพาะด้านระบบการทรงตัว การรับสัมผัส และการรับความรู้สึกจากเอ็นและข้อ ดังนั้น การรักษาเฉพาะทางกิจกรรมบำบัดสามารถให้การกระตุ้นระบบการประมวลผลการรับข้อมูลความรู้สึก (Sensory Integration System) ของเด็กให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ 
กรณีตัวอย่าง เด็กออทิสติกที่มีภาวะไวต่อการรับสัมผัสมากเกินไป นักกิจกรรมบำบัดจะจัดกิจกรรมในลักษณะที่ให้เด็กมีโอกาสสัมผัสกับวัตถุหลากหลายพื้นผิว เป็นต้น จะเห็นได้ว่า วิธีการและอุปกรณ์เฉพาะด้านที่ใช้บำบัดรักษาเด็กออทิสติกต้องประกอบ ด้วยความรู้ความเข้าใจเฉพาะทาง ฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องเอาใจใส่ ดูแล ช่วยเหลือเด็กด้วยวิธี การที่ถูกต้องและเหมาะสม
คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับคุณพ่อแม่
อย่าเอาใจลูกมากเกินไป ช่วยเหลือเท่าที่จำเป็นและเหมาะสม ส่งเสริมและสนับสนุนการฝึก ของลูกตามคำแนะนำของบุคลากรในทีมการรักษาอย่างจริงจังสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการฝึกทางกิจกรรมบำบัด ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถนำกิจกรรมต่างๆ ไปฝึกให้กับลูกต่อได้ที่บ้านเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ตัวอย่างเช่น ลูกทำร้ายตัวเองให้ใช้การกระตุ้นระบบสัมผัส โดยใช้แปรง แปรงบนบริเวณแขน ขา ลำตัว ร่วมกับการให้แรงกดลึกด้วยลูกบอลขนาดใหญ่ทั่วลำตัว และข้อต่อต่างๆ ทำให้เด็กลดพฤติกรรมทำร้ายตัวเองลง
อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้วิธีการบำบัดรักษา หรือเทคนิคเฉพาะทางกิจกรรมบำบัดควรปรึกษาหรือได้รับความเห็นชอบจากนักกิจกรรมบำบัดที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ก่อนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เนื่องจากเด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีอาการและพฤติกรรมที่มี ระดับความรุนแรงแตกต่างกัน รวมถึงความแตกต่างทางศักยภาพ และความสามารถในการ พัฒนาของเด็กแต่ละราย และปัจจัยอื่นๆ อีก ได้แก่ สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู และความรู้ความเข้าใจ ของคุณพ่อคุณแม่ ฯลฯ

การประเมินผลหลังการเรียนการสอน
 * การประเมินตนเอง - เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบและมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม มีความสุขและะสนุกกับการเรียน
* การประเมินเพื่อน  - มีความสุขและสนุกกบกาารเรียน  ร่วมตอบคำถาม  ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
* การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ  เข้าสอนตรงต่อเวลา  และอธิบายการสอนได้อย่างละเอียด มีเทคนิคการสอนที่ดีทำให้นักศึกษาได้รับความรู้และความสุขไปพร้อมๆกัน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น