บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ (EAED2209)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น.
เวลาเลิกเรียน 15.00 น.
ความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์อสรุปเป็น Mind Map ดังนี้
v พ่อแม่
ผู้ปกครองจะช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาลูกที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ได้อย่างไร?
v
ความร่วมมือของพ่อแม่
ผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญที่จะผลักดันให้การรักษาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ของลูกสัมฤทธิ์ผล
โดยพ่อแม่ควรปรึกษาจิตแพทย์และผู้เชี่ยวชาญอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าลูกมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้น ความพยายามร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นจิตแพทย์
โรงเรียน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปกครอง มักนำมาซึ่งความสำเร็จเสมอ
ทั้งนี้เพราะร้อยละ 60
ถึง 80 ของผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ชนิดรุนแรง
เช่น โรคจิตเภท (Schizophrenia) โรคซึมเศร้า (Major
Depression) และโรคอารมณ์แปรปรวน (Bipolar Disorder) ล้วนมีแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมไปในทางบวกเมื่อได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
พ่อแม่ซึ่งเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดและมีความสำคัญกับเด็กมากที่สุด
จึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็ก
โดยวิธีการที่ผู้ปกครองควรกระทำต่อลูกเพื่อสนับสนุนการรักษาดังกล่าว ได้แก่
v
พ่อแม่ควรตระหนักถึงบทบาทของตนเอง
และความสำคัญของการแก้ไขปัญหาของลูกที่บ้าน
โดยการช่วยให้ลูกเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการแสดงออก รวมถึงปรับเปลี่ยนทัศนคติ
v
ชี้ให้ลูกเห็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่ลูกแสดงออก
และแสดงตัวอย่างการกระทำที่เหมาะสมให้ลูกเห็น พร้อมทั้งสนับสนุนให้เขาปฏิบัติตาม
v
ตั้งกฎภายในบ้านให้ชัดเจน และบังคับใช้อย่างสมเหตุสมผล
โดยระมัดระวังไม่ให้เคร่งครัดจนเกินไป เพราะอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ลูกเครียดหรือรู้สึกกดดัน
อันจะนำไปสู่ปัญหาที่เพิ่มมากขึ้น
v
ชมเชยเมื่อลูกสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบในบ้านและในสังคมได้ดี
v
ดูแลลูกด้วยความรัก ความเอาใจใส่ และความอดทน
รวมถึงเคารพการตัดสินใจของลูก เพื่อให้ได้รับความร่วมมือจากเด็กกลับคืนมาเช่นกัน
v
หมั่นสังเกตแนวโน้มของพฤติกรรมของลูก หากลูกมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป
พ่อแม่ควรหาสาเหตุของปัญหา เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด เช่น
ความเครียด ความกลัว หรือภาวะซึมเศร้า เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น