วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 6


บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ (EAED2209)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.00 น.

           ความรู้ที่ได้รับ สรุปเป็น Mind Map ดังนี้



    ความรู้เพิ่มเติม โรคลมชัก คืออะไร 

              โรคลมชัก (epilepsy) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์สมองบริเวณผิวสมอง กล่าวคือ หากกระแสไฟฟ้าในสมองเกิดการลัดวงจรหรือเกิดความผิดปกติบางอย่างขึ้น จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติทางระบบประสาทตามมาจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ อย่างเช่น ถ้าเซลล์สมองเกิดความผิดปกติบริเวณส่วนของการควบคุมกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการชักเกร็งกระตุกเหมือนถูกไฟฟ้าช็อต ชักแบบเป็น ๆ หาย ๆ หรือบางคนอาจมีอาการเกิดขึ้นเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย อาจหมดสติหรือไม่หมดสติก็ได้ แต่บางคนก็อาจมีพฤติกรรมนิ่ง เหม่อลอย 





     โรคลมชัก พบบ่อยแค่ไหน


              จากสถิติพบว่าโรคลมชักเป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อย ประมาณ 70 ใน 1,000 คน สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย ในประเทศไทยขณะนี้มีผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรักษาตัวในโรงพยาบาลสังกัดสาธารณสุขกว่า 6 หมื่นราย

              อย่างไรก็ตาม อาการชักมักเกิดได้ง่ายกับเด็กเล็กที่อยู่ในวัย 6 เดือนถึงราว ๆ 4-6 ขวบ หรือผู้สูงอายุที่สมองเริ่มเสื่อมลง ซึ่งอาจเกิดจากการมีไข้สูง เกลือแร่ในร่างกายแปรปรวน การได้รับยากระตุ้นสมองบางชนิด หรือการถูกกระตุ้นด้วยแสงแวบ ๆ เป็นเวลานานพอ


     สาเหตุของโรคลมชัก

              ในทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคลมชักได้อย่างชัดเจน ว่าเหตุใดสมองจึงเสียความสมดุลจนปลดปล่อยกระแสไฟฟ้าอย่างผิดปกติออกมา แต่พอวิเคราะห์หาสาเหตุบางส่วนที่อาจเกี่ยวข้องได้ ดังนี้

               1. เกิดจากกรรมพันธุ์ โดยจากการซักประวัติครอบครัวของผู้ป่วยส่วนหนึ่งพบว่า มีญาติพี่น้องที่ป่วยเป็นโรคนี้เช่นกัน

               2. เกิดจากการที่สมองเคยได้รับอันตรายมาก่อน เช่น มีการติดเชื้อในสมอง ภาวะขาดออกซิเจนขณะคลอด อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมอง การติดเชื้อของระบบประสาท ความผิดปกติทางสมองมาตั้งแต่กำเนิด หรือสมัยเด็กเคยมีไข้สูงจนชักนาน และชักติดต่อกันหลาย ๆ ครั้ง โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชักจากสาเหตุเหล่านี้ อาจจะมีพัฒนาการด้านร่างกายและสมองผิดปกติร่วมด้วย 

               3. เกิดจากภาวะมีก้อนในสมอง เช่น เนื้องอกในสมอง พยาธิในสมอง

               4. โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ แตกหรือตีบตัน

               5. โรคทางกาย เช่น ภาวะเกลือโซเดียมในร่างกายสูงหรือต่ำ น้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ แคลเซียมในเลือดต่ำ รวมถึงโรคตับโรคไต

               6. การดื่มเหล้ามากเกินไปจนเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง การเสพยาเสพติดเกินขนาด หรือได้รับสารพิษจากการใช้ยาบางชนิดเกินขนาด เป็นต้น  


    อาการของโรคลมชัก

              จากข้อมูลทางการแพทย์พบว่า โรคลมชักมีความหลากหลายทางอาการมาก ขึ้นอยู่กับว่าภาวะผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในสมองไปผิดปกติในสมองส่วนใดและรุนแรงแค่ไหน เช่น

               หากกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติเกิดขึ้นรบกวนสมองเป็นบางส่วน จะทำให้เกิดอาการชักกระตุกหรือเกร็งเฉพาะที่ในขณะที่ยังรู้ตัวอยู่ ซึ่งคนกลุ่มนี้หากตรวจภาพของสมองด้วยคอมพิวเตอร์แล้ว มีโอกาสสูงที่จะพบเนื้องอกในสมอง หรืออาจมีอาการหลอดเลือดผิดปกติในสมองมาตั้งแต่กำเนิด

               หากเซลล์สมองเกิดความผิดปกติบริเวณส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว และไปรบกวนสมองทั่วไปในวงกว้าง ไม่รู้ว่าจุดที่ปล่อยไฟฟ้าออกมารบกวนเริ่มที่จุดใด จะทำให้ผู้ป่วยชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว หมดสติ หรือชักแบบแน่นิ่งแบบที่พบได้บ่อยในเด็ก ผู้ป่วยจะไม่รู้ตัวขณะชัก อีกทั้งยังจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ด้วย อาการนี้จะเรียกว่า "ลมบ้าหมู" บางคนอาจมีอาการตาค้าง ตาเหลือก น้ำลายฟูมปาก ล้มลงกับพื้น ขากรรไกรแข็ง กัดริมฝีปากกัดลิ้นตัวเองจนเลือดออก มีอาการปัสสาวะหรืออุจจาระราดร่วมด้วย บางคนอาจเป็นอยู่ 1-3 นาที แต่บางคนอาจเป็นนานถึง 15 นาที 

               หากเซลล์สมองเกิดความผิดปกติบริเวณส่วนที่ควบคุมการมองเห็น จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเห็นแสงจ้าในขณะที่มีอาการชัก

               หากเซลล์สมองเกิดความผิดปกติบริเวณสมองส่วนควบคุมจิตใจ จะทำให้มีอาการทางจิตใจที่ผิดปกติไป เช่น เกิดภาพในอดีตวิ่งผ่านสมองเข้ามา เกิดความรู้สึกเดจาวู เหมือนคุ้นเคยแต่ไม่เคยรู้จัก ไม่เคยไป หรืออาจจำคนรู้จักไม่ได้ รู้สึกเหมือนคนแปลกหน้า

               ในผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการเหม่อลอย หมดสติ ทำอะไรไม่รู้ตัว อย่างนี้เรียกว่า อาการชักแบบเหม่อ 

               ผู้ป่วยบางรายมีอาการคล้ายคนไข้จิตเวช เช่น อยู่ ๆ ก็หัวเราะขึ้นมาโดยไม่มีสาเหตุ อาการเช่นนี้แสดงว่าเป็นลมชักแบบพิเศษ ที่เรียกว่า Gelastic Epilepsy เกิดจากสมองส่วนไฮโปทารามัส 

              นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางคนมีอาการแปลก ๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น ไปขโมยของโดยไม่รู้ตัว มีอาการงง ๆ เบลอ ๆ บางคนพูดอยู่ดี ๆ ก็นิ่งค้างไปเฉย ๆ สักพักแล้วถึงกลับมาพูดต่อได้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ซึ่งการที่แพทย์จะวินิจฉัยได้นั้นต้องอาศัยการซักประวัติจากญาติผู้ป่วย 

              อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยหลายคนไม่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นโรคลมชัก เพราะบางคนมีภาวะวูบ เหม่อลอย จำอะไรไม่ได้เกิดขึ้นแค่ไม่กี่วินาที จึงไม่ทันสังเกต สำหรับอาการวูบนั้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะวูบไปแล้วจำอะไรไม่ได้ แต่ยังมีคนจำนวนหนึ่งที่วูบแล้วแต่ยังจำเหตุการณ์ได้ จึงไม่คิดว่าตัวเองป่วย กว่าจะรู้ตัวว่าป่วยก็มีอาการแสดงออกมามากแล้ว 

              นอกจากนี้ ในบางรายจะมีอาการเตือนขึ้นมาก่อนหมดสติ เช่น เกิดออรา เห็นแสงวาบ แขนขาชากระตุก ได้กลิ่นแปลก ๆ เช่น กลิ่นยางไหม้ กลิ่นน้ำหอม หรือได้ยินเสียงดัง ๆ ทั้งที่ไม่มีอยู่จริง หรือกลัวอย่างไม่มีเหตุผล ฯลฯ


     โรคลมชักอันตรายไหม

              ถือว่าอันตรายอยู่เหมือนกันถ้าผู้ป่วยมีอาการชักอยู่เรื่อย ๆ เพราะการที่กระแสไฟฟ้าในสมองถูกกระตุ้นมากเกินไปจะไปกระตุ้นทำให้เกิดการหลั่งสารทำลายเซลล์สมอง อาจทำให้เซลล์สมองตายได้ หรือไปกระทบประสิทธิภาพความจำ และสมองส่วนอื่น ๆ ด้วย หากปล่อยทิ้งไว้นานโดยไม่รักษา ผู้ป่วยอาจเกิดอาการผิดปกติจนไม่สามารถกลับมาเหมือนเดิมได้เลย

              นอกจากนี้ หากผู้ป่วยมีอาการชักแล้วกัดลิ้นตัวเองหรือสำลักก็เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ รวมทั้งหากเกิดอาการชักขณะขับรถ ว่ายน้ำ พายเรือ หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่เสี่ยงอันตรายอยู่ ก็อาจประสบอุบัติเหตุได้เช่นกัน


     เมื่อไรควรไปหาหมอ

              คนไข้ทุกรายที่มีอาการชักครั้งแรก ควรไปปรึกษาแพทย์โดยเร็ว เพื่อค้นหาสาเหตุ และควรไปหาแพทย์ทันทีหากมีอาการต่อไปนี้

               1. ชักนานเกิน 15 นาที หรือชักซ้ำ ๆ ติดต่อกันหลายครั้ง

               2. มีอาการปวดศีรษะรุนแรง มีไข้สูง หรือแขนขาเป็นอัมพาตร่วมด้วย

              สำหรับคนที่เป็นโรคลมชักที่กินยาเป็นประจำ ถ้าหากมีอาการชักกำเริบอีก เมื่อหายชักแล้วควรกลับไปหาแพทย์ประจำเพื่อปรึกษาการปรับใช้ยาให้เหมาะสม และควรเรียนรู้วิธีปรับยาเองเมื่อจำเป็น


     การวินิจฉัยโรคลมชัก

              ต้องบอกให้เข้าใจว่า อาการโรคลมชักในบางคนอาจมีลักษณะคล้ายอาการทางจิตเวช ทำให้บางคนคิดว่าตัวเองเกิดภาพหลอนมากกว่าคิดว่าตัวเองป่วยด้วยโรคลมชัก เช่น ผู้ป่วยบางคนก่อนมีอาการนิ่งเหม่อลอย ได้เห็นภาพของผู้หญิงที่ไม่มีตัวตนปรากฏออกมา หรือบางคนเห็นภาพหมุน ภาพเคลื่อนไหวเร็วกว่าปกติ เห็นแสงจ้า เห็นภาพหลอน หูแว่ว จนคิดว่าตัวเองมีอาการทางจิต แต่แพทย์จะซักประวัติ อาการที่เกิดขึ้น ตรวจร่างกายก่อนจะตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ซึ่งจะบอกได้ว่า อาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการทางจิตหรือโรคลมชักกันแน่ 

              นอกจากนี้ แพทย์อาจใช้การวินิจฉัยอี่น ๆ ซึ่งอาจมีความจำเป็น เช่น การตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กสมอง การตรวจคลื่นสมองพร้อมวิดีโอ 24 ชั่วโมง การตรวจสมองโดยใช้สารกัมมันตรังสี เพื่อตรวจหาพยาธิสภาพในสมอง ฯลฯ ถ้าสงสัยมีการติดเชื้อในสมอง (เช่นมีไข้สูงร่วมด้วย) แพทย์อาจทำการเจาะหลัง เพื่อตรวจน้ำไขสันหลัง


     วิธีรักษาผู้ป่วยโรคลมชัก
              โรคลมชักสามารถรักษาให้หายได้ ด้วยหลากหลายวิธี คือ 

               1. การใช้ยา เป็นการรักษาหลักที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคลมชักในเด็กและผู้ใหญ่ เพื่อช่วยปรับกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติในสมองให้กลับมาเป็นปกติ แพทย์จะเป็นผู้เลือกชนิดและขนาดยาที่เหมาะสมกับอาการชักของผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งจะใช้เวลาในการทานยาประมาณ 2-5 ปี จนกว่าจะไม่มีอาการชัก แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาให้ลดขนาดยาลงจนกระทั่งหยุดยาได้ โดยที่ผู้ป่วย 60-70% สามารถหายขาดจากโรคลมชักด้วยยา ขณะที่มีผู้ป่วยราว 20-30% สามารถกลับมาชักได้ใหม่ ก็จำเป็นต้องกินยากันชักต่อไปตลอดชีวิต
     
              ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่กินยากันชักต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ อย่าหยุดยาเอง ยากินยาชนิดอื่นร่วมกับยากันชักโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ เพราะยาบางชนิดอาจไปต้านหรือเสริมฤทธิ์ยากันชัก ทำให้เกิดพิษขึ้นได้ และต้องหมั่นสังเกตอาการข้างเคียงที่เกิดจากการกินยากันชักด้วย

               2. การใช้ไฟฟ้ากระตุ้น เป็นวิธีการรักษาที่ใช้ในต่างประเทศ และนิยมทำในผู้ป่วยเด็กโรคลมชักที่ดื้อต่อยา และไม่สามารถจะรักษาโดยการผ่าตัดได้ วิธีการโดยการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าเข้าไปในร่างกาย และกระตุ้นผ่านเส้นประสาทบริเวณคอ

               3. การควบคุมอาหารเพื่อรักษาโรคลมชักในเด็ก เป็นการรักษาทางโภชนบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยมีระดับ ketone ในร่างกายสูง ลักษณะอาหารจะมีไขมันค่อนข้างสูงและมีโปรตีนต่ำ วิธีการนี้จึงเหมาะสมกับเด็ก เนื่องจากพ่อแม่สามารถควบคุมเรื่องอาหารและตรวจปัสสาวะได้ตลอดเวลา โดยจะทำให้มีสาร ketone และสารดังกล่าวจะใช้ได้ผลในผู้ป่วยเด็กที่มีความผิดปกติทางสมอง ซึ่งมีอาการชักค่อนข้างรุนแรง จะทำให้อาการชักดีขึ้นประมาณ 60-70% และจะพบคนไข้ที่ไม่มีอาการชักเลยในระหว่างที่มีการให้อาหารชนิดนี้ประมาณ 30% สำหรับโรคลมชักในผู้ใหญ่จะไม่นิยมวิธี ketogenic diet เนื่องจากอาหารประเภทนี้มีไขมันค่อนข้างสูง

               4. การผ่าตัด ในผู้ป่วยที่ดื้อยาหรือมีพยาธิสภาพในสมองที่ชัดเจน แพทย์พิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดสมอง โดยจะวิเคราะห์ผู้ป่วยอย่างละเอียดจากทีมสหสาขา และกระบวนการตรวจที่ทันสมัยพร้อมเทคนิคใหม่ ๆ ทำให้โอกาสที่ผู้ป่วยจะหายจากชักสูงมาก โดยที่ไม่มีผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ในรายที่การรักษาทางยาไม่ได้ผลหรือผ่าตัดรักษาไม่ได้ ก็อาจจะใช้วิธีการกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้า


     ผู้ป่วยโรคลมชักดูแลตัวเองอย่างไรดี

               กินยากันชักให้สม่ำเสมอ อย่าหยุดยา เปลี่ยนแปลงขนาดยา หรือซื้อยากินเอง แม้คิดว่าอาการดีขึ้นแล้ว เพราะโรคอาจจะยังไม่หาย อาจทำให้เกิดอาการชักอีกได้ ต้องให้แพทย์สั่งเท่านั้น

               ไปพบแพทย์ตามนัด ไม่ควรเปลี่ยนแพทย์บ่อย ๆ เพราะจะทำให้การรักษาไม่ต่อเนื่อง แต่หากจำเป็นต้องเปลี่ยนสถานที่รักษา ควรนำยาที่กินอยู่ไปให้แพทย์ดูด้วย

               ไม่ควรกินยาขนานอื่น ๆ ร่วมกับยากันชักโดยมิได้ปรึกษาแพทย์ เพราะอาจมีผลต่อประสิทธิภาพของยา ทั้งในด้านหักล้างทำให้คุมชักไม่ได้ หรือเสริมฤทธิ์กัน จนเกิดเป็นพิษขึ้นได้

               หากมีไข้สูงต้องรีบทานยาลดไข้และเช็ดตัวให้ไข้ลดลง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการชัก

               หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการชัก เช่น การอดนอน พักผ่อนไม่เพียงพอ อารมณ์เครียด ออกกำลังจนเหนื่อยเกินไป อาการท้องผูก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การเข้าไปในที่ ๆ มีเสียงดังอึกทึก มีแสงจ้า

               หลีกเลี่ยงการทำงานที่เสี่ยงอันตราย เช่น งานบนที่สูง ใกล้น้ำ ของร้อน เตาไฟ บนผิวจราจร หรือเดินบนถนนตามลำพัง 

               ไม่ควรขับรถ เพราะหากอาการกำเริบขึ้นมาอาจทำอันตรายต่อผู้อื่นได้ อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายห้ามคนเป็นโรคลมชักขับรถ 

               ควรแจ้งให้เพื่อนร่วมงานหรือเพื่อนนักเรียนทราบถึงโรคที่เป็นด้วย เพื่อที่หากเกิดอาการชักขึ้นคนใกล้ชิดจะได้ช่วยเหลือได้ 

     
     ทำอย่างไรเมื่อเจอผู้ป่วยลมชัก

              หากเจอผู้ป่วยลมชักก็ไม่ต้องตกใจ ให้ปฐมพยาบาลผู้ป่วยดังนี้ 

               1. นำตัวผู้ป่วยไปอยู่ในสถานที่ที่ปลอดภัย

               2. ปลดเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายให้หลวม หากใส่แว่นให้ถอดออก หากหมอนหรือสิ่งของนุ่ม ๆ มาหนุนศีรษะ

               3. คอยจับศีรษะและแขนขา อย่าให้กระแทกพื้นหรือกำแพง

               4. จับผู้ป่วยนอนตะแคงไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง ระวังมิให้เศษอาหาร เสมหะ น้ำลาย หรือเลือดที่อาจไหลอยู่ในปากสำลักเข้าไปในปอด  

               5. ถ้าผู้ป่วยใส่ฟันปลอม ควรถอดฟันปลอมออกถ้าทำได้ 

               6. อย่าให้คนมุงดู เพราะอาจทำให้ขาดอากาศหายใจ

               7. ห้ามใช้มือหรือนิ้วล้วงคอ หรือง้างปากคนไข้ เพราะอาจถูกคนไข้กัดนิ้วขาดได้

               8. ไม่จำเป็นต้องทำการเป่าปาก นวดหัวใจ

               9. ไม่จำเป็นต้องใช้ช้อน ด้ามไม้ ดินสอ ปากกา หรือวัตถุใด ๆ สอดใส่ปากคนไข้ เพื่อป้องกันมิให้กัดลิ้น (ดังที่เคยแนะนำ) นอกจากจะไม่ได้ประโยชน์แล้ว ยังอาจทำให้ปากและฟันได้รับบาดเจ็บหรือมีเศษวัตถุถูดกัดแตกหักอุดกั้นทางเดินหายใจได้

               10. ไม่ควรผูกมัดหรือต่อสู้กับคนไข้ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บ ควรปล่อยให้อาการชักนั้นหยุดไปได้เอง

               11. ไม่ควรละทิ้งผู้ป่วยเพื่อไปตามผู้อื่น ควรอยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลา เพื่อให้ผู้ป่วยอุ่นใจเมื่อฟื้นขึ้นมา 

               12. ไม่ควรให้ผู้ป่วยกินระหว่างการชักหรือหลังชักใหม่ ๆ เพราะการกินอาจทำให้สำลักได้

               13. เมื่อผู้ป่วยรู้สึกตัวแล้ว ให้จับนั่งในท่าที่หายใจสะดวก และอยู่รอจนกว่าจะแน่ใจว่าคนไข้ฟื้นตัวดีแล้ว

               14. หากผู้ป่วยหลับหลังชักควรปล่อยให้หลับต่อ ห้ามป้อนอาหารหรือยาจนกว่าจะฟื้นเป็นปกติ 

               15. หากผู้ป่วยชักนานกว่าปกติ หรือชักซ้ำขณะที่ยังไม่ฟื้นเป็นปกติ ควรนำตัวส่งโรงพยาบาล เพราะการชักบ่อย ๆ อาจทำให้การทำงานของสมองบกพร่องได้

     
              อาการลมชัก หรือลมบ้าหมู อาจก่อให้เกิดอันตรายขึ้นได้ หากปล่อยให้เป็นเนิ่นนานโดยไม่เข้ารับการรักษา แต่ก็ต้องยอมรับว่าในบางรายก็สังเกตเห็นได้ยาก ดังนั้น คนใกล้ตัวคงต้องช่วยกันสังเกตด้วยอีกแรง หากเห็นคนรู้จักมีพฤติกรรมแปลก ๆ ชอบวูบ เหม่อลอย นิ่ง หรือชักเกร็งทั้งแบบรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ก็ควรพาไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยให้ชัดเจน


ครั้งที่ 5



บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ (EAED2209)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.00 น.

  เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with Special Need)  อาจจะแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
           
1.  เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน   ( Children  with hearing  impairment ) เด็กที่สูญเสียการได้ยิน  ในระดับหูตึงหรือหูหนวก  ซึ่งอาจจะสูญเสียการได้ยินมาตั้งแต่กำเนิดหรือภายหลังก็ตาม  ซึ่งการได้ยินเริ่มจากหูตึงน้อย  ปานกลาง  ไปจนถึงระดับที่รุนแรง  จนกระทั่งหูหนวก หรือไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ แม้จะมีเสียงดังเพียงใดก็ตาม   

2.  เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น  ( Children  with  visual  impairment ) หมายถึง  เด็กที่สูญเสียการมองเห็นตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนตาบอดสนิท อาจแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
    - เด็กตาบอด
    - เด็กสายตาเลือนลาง สูญเสียการมองเห็นแต่ยังสามารถอ่านตัวหนังสือที่ขยายใหญ่ได้ หรือใช้แว่นขยายอ่าน

3.  เด็กที่มีความความบกพร่องทางสติปัญญา  ( Children  with  intellectual disabilities ) หมายถึง เด็กที่มีสติปัญญาต่ำหว่าเด็กปกติทั่วไป  เมื่อวัดระดับสติปัญญาโดยใช้แบบทดสอบมาตรฐาน  มีข้อจำกัดในทักษะด้านการปรับตัวอย่างน้อย 2  ทักษะใน  10  ทักษะ คือ   การสื่อความหมาย    การดูแลตนเอง    การดำรงชีวิต      ทักษะทางสังคม   การใช้สาธารณสมบัติ   การควบคุมตนเอง   สุขอนามัยและความปลอดภัย    การเรียนวิชาการเพื่อการดำรงชีวิต   การใช้เวลาว่าง   การทำงาน 
ทั้งนี้ภาวะความบกพร่องทางสติปัญญานี้ต้องเกิดขึ้นก่อนอายุ 18 ปี  ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
                - เด็กเรียนรู้ช้า หมายถึง เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าปกติ จะมีระดับเชาว์ปัญญา (I.Q) 71-90 ซึ่งขาดทักษะในการเรียนรู้หรือมีความบกพร่องทางสติปัญญาเล็กน้อย
               - เด็กปัญญาอ่อน หมายถึง เด็กที่มีเชาว์ปัญญาต่ำกว่า 70 มีความสามารถในการเรียนรู้น้อย มีพัฒนาการทางกายล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย  แบ่งระดับความบกพร่องได้เป็น  4  ระดับ   คือ
ระดับที่ 1     ขั้นเล็กน้อย           ระดับ  I.Q.  50 – 60 
ระดับที่ 2     ขั้นเล็กปานกลาง    ระดับ  I.Q.  35 – 49 
ระดับที่ 3     ขั้นรุนแรง              ระดับ  I.Q.  20 – 34 
ระดับที่ 4     ขั้นรุนแรงมาก        ระดับ  I.Q.  น้อยกว่า 20 

4.  เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้  ( Children  with  learning  disabilities )   หมายถึง  เด็กที่มีความบกพร่องในขบวนการทางจิตวิทยาทำให้มีปัญหาด้านการใช้ภาษา  ด้านการฟัง   การพูด  การอ่านและการเขียน  และการสะกดคำหรือมีปัญหาการเรียนวิชาคณิตศาสตร์  ซึ่งปัญหาดังกล่าวไม่ได้มีสาเหตุมาจากความบกพร่องทางร่างกาย    ทางการเห็น  ทางการได้ยิน   ทางสติปัญญา อามรณ์และสภาพแวดล้อม   

            5.  เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ  ( Children  with  physical  impairment ) หมายถึง เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน  อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายหรือหลายส่วนขาดหายไป  กระดูกและกล้ามเนื้อพิการ  เจ็บป่วยเรื้อรัง  รุนแรง  มีความพิการของระบบประสาท (nervous  system) มีความยากลำบากในการเคลื่อนไหว    

6.  เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ ( Children  with  behavior  disorders )  หมายถึง เด็กที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้ คือ เด็กที่ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเดียวกับเด็กปกติทั่วไป  แต่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากองค์ประกอบทางสติปัญญา   การรับรู้  ความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ  ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อนได้ มีพฤติกรรมมาเหมาะสมกับเพศและวัย  มีปัญหาทางอารมณ์  หรือแสดงอาการเจ็บป่วย  โดยมีสาเหตุมาจากจิตใจ  ได้แก่ความวิตกกังวล  หรือหวาดกลัว  เป็นต้น ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมอาจจะปรากฏเพียงลักษณะหนึ่งหรือมากกว่านั้นก็ได้  แต่ต้องเกิดขึ้นเป็นเวลานานพอสมควร 

7.  เด็กที่มีความบกพร่องทางการสื่อความหมาย ( Children with communication disorders)   หมายถึง  เด็กที่มีความบกพร่องในการเข้าใจหรือการใช้ภาษาพูดจนไม่สามารถสื่อความหมายกับผู้อื่นได้ตามปกติ เช่น  การพูดไม่ชัด  จังหวะการพูดไม่ดี  คุณภาพของเสียงผิดปกติ   ตลอดจนการพูดผิดปกติที่เกิดจากการมีพยาธิของระบบประสาทส่วนกลาง หรือระบบประสาทส่วนปลาย  รวมทั้งอะเฟเซีย  ซึ่งมีความบกพร่องทั้งในด้านการรับรู้และการแสดงออกทางภาษา เป็นต้น 

8.  เด็กออทิสติก  ( Children  with  autism )   หมายถึง  เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าหรือถดถอยแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมในลักษณะแปลก ๆ  เช่น  หลีกเลี่ยงการมองหน้าผู้อื่น   ไม่สบตา  การแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ต่อเสียงที่ได้ยิน  การสัมผัส  หรือความเจ็บป่วยในลักษณะที่มากเกินไป หรือน้อยเกินไปหรือไม่แสดงปฏิกิริยาตอบโต้ต่อสิ่งเร้าใด ๆ ทั้งสิ้นแสดงอาการสนใจต่อสิ่งแวดล้อม  มีปัญหาด้านการพูดและภาษาไม่สามารถแสดงการตอบโต้กับคน  สิ่งของ   หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้

9.  เด็กที่มีความพิการซ้ำซ้อน  ( Children  with  multiple  handicapped )   หมายถึง  เด็กที่มีสภาพความพิการตั้งแต่สองอย่างขึ้นไปในบุคคลเดียวกัน  เช่น เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา รวมทั้งสูญเสียการได้ยิน  หรือเด็กที่ตาบอดและสูญเสียการได้ยิน  เป็นต้น   และสภาพความพิการนี้จะส่งผลให้เกิดการด้อยความสามารถในการดำรงชีวิต ทั้งเป็นอุปสรรคต่อการได้รับการศึกษา

10.  เด็กสมาธิสั้น  ( Children  with  attention  deficit / hyperactivity  disorders ) หมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติทางพฤติกรรมชนิดหนึ่ง  ได้แก่  การขาดสมาธิ  ( inattention)  พฤติกรรมซุกซนอยู่ไม่นิ่ง  (hyperactivity ) ขาดความยับยั้งชั่งใจหุนหันพลันแล่น ทำอะไรไม่คิดให้รอบคอบ  และพฤติกรรมที่แสดงออกไม่เหมะสมกับวัย   หรือระดับพัฒนาการและต่อเนื่องนานเกิน 6  เดือนขึ้นไป พฤติกรรมเล่านี้ปรากฏก่อนอายุ  7 ปี  และมีความรุนแรงส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน การเรียนการปรับตัวในสังคม  พฤติกรรมเหล่านี้ต้องเกิดอย่างน้อยในสองสถานการณ์ขึ้นไป  เช่น  ที่บ้านและที่โรงเรียน

  11.  เด็กที่มีความสามารถพิเศษ  ( Children  with  gifted / talented )  หมายถึง เด็กที่แสดงออกซึ่งความสามารถอันโดดเด่นด้านด้านหนึ่ง  หรือหลายด้านในด้านสติปัญญา  ความคิดสร้างสรรค์   การใช้ภาษา การเป็นผู้นำ   การสร้างงานด้านศิลปะ  การแสดงความสามารถทางดนตรี  ความสามารถทางกีฬา   และความสามารถทางวิชาการในสาขาใดสาขาหนึ่ง   หรือหลายสาขาอย่างเป็นที่ประจักษ์  เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กอื่นที่มีอายุระดับเดียวกัน  สภาพแวดล้อมเดียวกัน  







ครั้งที่ 4


บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ (EAED2209)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.00 น.
 

 วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองานในหัวข้อเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ตัวเองได้รับมอบหมาย ซึ่งกลุ่มดิฉันได้เรื่อง เด็กดาวน์ซินโดรม



     เด็กดาวน์ หรือเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม เป็นเด็กที่มีภาวะปัญญาอ่อน ซึ่งมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม เพราะความผิดปกติของโครโมโซมโครโมโซม จะมีอยู่ในเซลร่างกายมนุษย์ แต่ละคนจะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 แท่ง มีหน้าที่แสดงลักษณะของคนๆนั้นออกมา เช่น ผมสีดำ ตัวเตี้ย ตัวสูง เพศชาย เพศหญิง และถ่ายทอดลักษณะเหล่านั้นออกมาให้ลูกหลาน โดยจะได้จากบิดา 23 แท่ง มารดา 23 แท่ง
สาเหตุของการเกิดกลุ่มอาการดาวน์
สาเหตุของความผิดปกติของโครโมโซม ยังไม่ทราบแน่ชัด มีปรากฏในทุกเชื้อชาติ เด็กเกิดใหม่ 1,000ราย จะพบเด็กดาวน์ 1 ราย ความผิดปกติมี 3 ประเภทคือ
  1. โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง พบได้ร้อยละ 95 %
  2. โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 พบได้ร้อยละ 4
  3. มีโครโมโซม ทั้งปกติในคนเดียวกันได้พบได้ร้อยละ 1
ลักษณะของเด็กดาวน์
  1. ลักษณะทั่วไป เด็กดาวน์ทุกคนจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ ศีรษะเล็ก หน้าแบน สันจมูกแบน ตาเล็กเฉียงขึ้น หูเล็ก ช่องปากเล็ก เพดานปากสูง คอสั้น แขนขาสั้น มือแบนกว้าง นิ้วมือ นิ้วเท้าสั้น ฝ่าเท้าสั้น
  2. ระบบกล้ามเนื้อ และกระดูก กล้ามเนื้ออ่อนนิ่ม ข้อต่อยืดได้มาก ทำให้มีพัฒนาการการเคลื่อนไหวช้า และฝ่าเท้าแบนราบ ในบางราบอาจมีข้อกระดูกเคลื่อน จึงจำเป็นต้องมีการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูกเจริญเติบโตช้า ทำให้ตัวเล็กเตี้ย สันจมูกแบน ช่องปากเล็ก หูชั้นกลางอักเสบได้ง่าย มีความผิดปกติของกระดูกหูชั้นกลาง และชั้นใน ทำให้บางรายมีความบกพร่องทางการได้ยิน
  3. ระบบผิวหนัง มีความยืดหยุ่นน้อย มีเลือดมาเลี้ยงน้อย ทำให้ผิวหนังแห้งแตกง่าย มีรอยจ้ำเป็นลาย และการรับรู้ทางประสาทสัมผัสมีน้อย ควรออกกำลังกายเพื่อช่วยให้เลือดมาเลี้ยงดีขึ้น
  4. ระบบทางเดินอาหาร บางรายมีการอุดตันของลำไส้ และ/หรือ ไม่มีรูทวารตั้งแต่แรกเกิด บางรายอาจอาเจียนจนถึงอายุ 6 เดือน เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะอาหารไม่แข็งแรง เด็กส่วนมากมีปัญหาเร่องท้องอืด และท้องผูกได้ง่าย
  5. ระบบหัวใจ และหลอดเลือด บางรายอาจมีโรคหัวใจพิการ แต่กำเนิดร่วมด้วย และมะเร็งในเม็ดเลือดขาวได้บ้าง
  6. ระบบประสาท สมองมีขนาดเล็ก ทำให้มีการรับรู้ ความเข้าใจช้า สติปัญญาต่ำกว่าเด็กทั่วไปอาจมีปัญหาทางตา เช่น ตาเข สายตาสั้น ปัญหาการได้ยิน มีประสาทรับความรู้สึกต่างๆน้อยกว่าปกติ
  7. ระบบหายใจ ติดเชื้อง่าย เนื่องจากภูมิต้านทานต่ำ และขับเสมหะไม่ดี
  8. ระบบสืบพันธ์ อวัยวะเพศของผู้ชายอาจจะเล็กกว่าปกติ
  9. ระบบต่อมไร้ท่อ ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย และสมอง (Growth Hormone ,Thyroid Hormone ) อาจมีน้อยกว่าปกติ
  10. ลักษณะนิสัย และอารมณ์ วัยเด็กจะเชื่องช้า เมื่อโตขึ้นร่าเริงแจ่มใส การเลี้ยงดูที่เหมาะสม และการส่งเสริมพัฒนาการตั้งแต่แรกเกิด – 5 ปี จะมีผลต่อพฤติกรรมการปรับตัว และอารมณ์ของเด็กในทางที่ดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัดเจน
ความช่วยเหลือที่เด็กดาวน์ควรได้รับ
  1. วัยเด็ก เป็นวัยทองของชีวิต ทักษะต่างๆจะพัฒนาไปได้ถึงกว่า ร้อยละ 90 ในวัยนี้ เด็กควรได้รับการแก้ไขความพิการที่เป็นมาแต่กำเนิด การดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค และการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเข้าเรียน ซึ่งเป็นหน้าที่ของครอบครัว บุคลากรทางการศึกษา และสาธารณสุข
  2. วัยเรียน เมื่อเด็กได้รับการเตรียมพร้อม โดยเฉพาะทางด้านร่าง และพัฒนาการแล้ว เด็กควรได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติใกล้บ้าน เพื่อให้ได้เรียนรู้ และปรับตัวให้เข้ากับชีวิตจริงในชุมชนของตนเอง ซึ่งเป็นหน้าที่ของครอบครัว และบุคลากรทางการศึกษา
  3. วัยทำงาน หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนแล้ว เด็กควรได้รับการฝึกอาชีพจากสถานที่ทำงานจริงในชุมชน หรือสถานฝึกอาชีพต่างๆต่อจากนั้น ชุมชนควรเปิดโอกาสให้เด็กเหล่านี้ได้ทำงาน งานที่ทำอาจเป็นงานที่ง่าย ไม่ซับซ้อน หรือใช้ทักษะไม่มากนัก ในปัจจุบันมีสถานประกอบการเอกชนหลายแห่ง เปิดโอกาสให้กับเด็กเหล่านี้ ได้ทำงาน และมีอาชีพที่เหมาะสม เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เช่นเดียวกับคนทั่วไป
การดูแลเด็กดาวน์
สุขภาพอนามัย เด็กดาวน์ จะมีโรคที่เป็นมาแต่กำเนิด หรือมักจะเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าเด็กทั่วไป ดังนั้นผู้ปกครอง จึงควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์ ตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อแพทย์จะได้ค้นหา หรือให้การบำบัด รักษาได้ทันกาล รวมทั้งป้องกันโรค ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
การส่งเสริมพัฒนาการ
เด็กดาวน์ สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม ดังนั้นผู้ปกครอง จึงควรพาเด็กไปพบแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำ และวิธีการ ในการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อให้เด็กมีความพร้อม รวมทั้งนำกลับมาฝึกฝนที่บ้าน หรือในทุกโอกาสเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการใกล้เคียงกับเด็กปกติ


เด็ก CP. 



       CP ย่อมาจาก Cerebral Palsy หมายถึง การพิการทางสมอง ซึ่งเด็กจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ผิดปกติ การขยับแขนขา ลำตัวใบหน้า ลิ้น รวมถึงการทรงตัวที่ผิดปกติ เด็กที่เป็นโรคนี้มักมี ปัญหาในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อปัญหาการพูดคุยและการกินและอาจจะมีปัญหาในการควบคุมลมหายใจเพื่อเปล่งเสียง (เรียกกันว่า Dysarthria) ในทางการแพทย์ จัดเด็กพิการ CP เป็นภาวะพิการทางสมองชนิดหนึ่ง เด็กพิการซีพี ส่วนใหญ่สติปัญญาดี ไม่ปัญญาอ่อน ประมาณ 70-80% มีค่า IQ มากกว่า 70 บางรายมีการรับรู้ ความรู้สึกที่ผิดปกติด้วยเด็กพิการทางสมองซีพีคือเด็กที่ มีความเสียหายของเนื้อสมองเกิดขึ้นในช่วงอายุที่สมองยังเจริญไม่เต็มที่และจะไม่สามารถคืนสู่สภาพปกติเพราะเซลล์สมองไม่สามารถแบ่งตัว เพิ่มจำนวนแทนที่ส่วนที่เสียหายได้สาเหตุของโรค เกิดขึ้นได้ทั้งก่อน/ระหว่าง /หลังคลอด อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ หรือจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับแม่ แม่ที่มีความดันโลหิตสูงหรือเป็นโรคเบาหวานอาจเป็นปัญหากับทารกในครรภ์ นอกจากนี้ อาจเป็นปัญหาระหว่างคลอดที่เด็กได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ คลอดยาก สมองได้รับการกระทบกระเทือน เด็กคลอดก่อนกำหนด โดยปกตินั้นเด็กแรกเกิด เนื้อสมองจะยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ ต้องอาศัย ระยะเวลาประมาณ ปีระบบประสาทส่วนต่างๆ จึงทำงานโดยสมบูรณ์ โดยในช่วง อายุ ปีแรกนั้น ถือเป็นช่วงที่มีอัตราการเจริญที่รวดเร็วเกือบ 80%ของทั้งหมดเด็กซีพี อาจจำแนกโดยลักษณะการเคลื่อนไหวได้ ประเภท คือ1. Spastic CP จะมีอาการกล้ามเนื้อเกร็งแน่น ไม่สามารถหดตัวได้เหมือนกล้ามเนื้อปกติ มีลักษณะแข็งทื่อ 2. Ataxic CP กล้ามเนื้อจะยืดหดอย่างไม่เป็นระบบระเบียบ ทำให้ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้ หากเด็กมีความเก็บกดทางอารมณ์ หรือเมื่อเวลาตื่นเต้น กล้ามเนื้อจะยิ่งผิดปกติมากขึ้น3. Athetoid CP มีอาการกล้ามเนื้อไม่ประสานกัน ทำให้เด็กควบคุมสมดุลย์ไม่ได้ ทำให้โซเซและหกล้มได้ง่าย ประมาณ ใน 4ของเด็กที่เป็นซีพี จะมีอาการเป็น Atheloid CP4. Mixed CP เป็นการผสมผสานลักษณะทั้งสามคือ เด็กคนเดียวอาจมีลักษณะที่กล่าวมาแล้ว โดยประมาณกันว่า ใน ของคนที่เป็น ซีพี จะมีลักษณะของการผสมผสานประเภทนี้แม้จะมีกลุ่มอาการของเด็ก Cerebral palsy (C.P.) มากมายแต่ที่เราพอจะให้ความช่วยเหลือและรักษาได้คือ พวก spasticityเท่านั้นในการดูแลรักษาเราจะแบ่งเด็ก spastic cerebral palsy ออกเป็น1. Hemiplegia คือพวกที่มี spasticity ของแขนและขาข้างใดข้างหนึ่งส่วนอีกข้างหนึ่งปกติ2. Double hemiplegia คือ มีลักษณะของ hemiplegia ทั้ง ข้างเพียงแต่ความรุนแรงของแต่ละข้างไม่เท่ากัน3. quadriplegia หรือ total body involvement พวกนี้มี involvement ของทั้งแขนและขาทั้ง ข้างเท่า ๆ กัน ส่วนใหญ่ของcases พวกนี้มักจะมี neck หรือ cranial nerve involvement ด้วย ปัจจุบันจึงนิยมที่จะเรียก total body involvement มากกว่าquadriplegia 4. Diplegia คือ involved มากเฉพาะที่ขาทั้ง ข้าง ในขณะที่แขนทั้ง ข้าง gross movement เกือบจะปกติมีเฉพาะส่วนของfine movement เท่านั้นที่ถูก involved5. อื่น ๆ เช่น monoplegia, paraplegia, triplegia พบน้อยมาก โดยเฉพาะ paraplegia ในกรณีนี้ควร rule out spinal cord lesion ออกก่อน ก่อนที่จะบอกว่าเป็นCerebral palsy ชนิด paraplegiaการรักษา แบ่งเป็นการรักษาด้านกระดูกและข้อ และการรักษาด้านอื่นๆ1.ป้องกันความผิดรูปของข้อ ต่างๆ โดยใช้ วิธีทางกายภาพบำบัด(Physical Therapy) จะช่วยให้เด็กซีพี เรียนรู้การเคลื่อนไหวและการปรับสมดุลย์ของร่างกายได้ดีขึ้นอรรถบำบัด (Speech and Language Therapy) เด็กๆ ที่เป็นซีพี จะได้ฝึกทักษะการสื่อสาร 2.ลดความเกร็ง โดยใช้ยายากิน กลุ่ม diazepamยาฉีด เฉพาะที่ ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน คือกลุ่ม Botox3.การผ่าตัด การผ่าตัดลดความตึงของกล้ามเนื้อโดยผ่าคลายเฉพาะกล้ามเนื้อที่ยึดตึงการย้ายเอ็น เพื่อสร้างความสมดุลของข้อการผ่าตัดกระดูก ในรายที่กระดูกถูกดึงจนผิดรูปแล้ว4. การให้การดูแลรวมถึงให้กำลังใจ โดยพ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญ กับการพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็ก5.การรักษาด้านอื่นๆ เช่น การผ่าตัดแก้ไขตาเหล่ น้ำลายยืด การใช้เครื่องช่วยฟัง ใช้ยาควบคุมการชัก รวมถึงปัญหาด้าน จิตเวช

 เด็ก LD.


LD ย่อมาจากคำว่า learning disorder หรือในภาษาไทยใช้ชื่อว่า โรคการเรียนรู้บกพร่อง เป็นความผิดปกติของกระบวนการเรียนรู้ที่แสดงออกทางด้านการอ่าน การเขียนสะกดคำ การคำนวณและเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ผลการเรียนของเด็กต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง โดยที่เด็กมีสติปัญญาอยู่ในระดับปกติและมีความสามารถด้านอื่นๆปกติดีLD แบ่งเป็น ด้าน ได้แก่1.ความบกพร่องด้านการอ่านความบกพร่องด้านการอ่านเป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุดของเด็ก LD ทั้งหมด เด็กมีความบกพร่องในการจดจำ พยัญชนะ สระ และขาดทักษะในการสะกดคำ จึงอ่านหนังสือไม่ออกหรืออ่านช้า อ่านออกเสียงไม่ชัด ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้ อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ จับใจความเรื่องที่อ่านไม่ได้ ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีความสามารถในการอ่านหนังสือต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย ระดับชั้นปี2. ความบกพร่องด้านการเขียนสะกดคำความบกพร่องด้านนี้ส่วนใหญ่จะพบร่วมกับความบกพร่องด้านการอ่าน เด็กมีความบกพร่องในการเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง บางครั้งเรียงลำดับอักษรผิด จึงเขียนหนังสือและสะกดคำผิด ทำให้ไม่สามารถแสดงออก ผ่านการเขียนได้ตามระดับชั้นเรียน เด็กกลุ่มนี้จึงมีความสามารถในการเขียนสะกดคำต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย ระดับชั้นปี3. ความบกพร่องด้านคณิตศาสตร์เด็กขาดทักษะและความเข้าใจค่าของตัวเลข การนับจำนวน การจำสูตรคูณ การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ จึงไม่สามารถคำนวณคำตอบจากการบวก ลบ คูณ หาร ตามกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ได้ เด็กกลุ่มนี้จึงมีความสามารถในการคิดคำนวณ ต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย ระดับชั้นปีแพทย์สามารถวินิจฉัยเด็ก LDการรวบรวมประวัติการเรียนและพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็กแต่ละด้านเป็นข้อมูลสำคัญที่ใช้ประกอบการวินิจฉัย รวมทั้งรายงานจากครูประจำชั้น การทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียน เปรียบเทียบกับระดับสติปัญญา (IQ)
เด็ก LD จะมีความสามารถในการเรียนรู้ต่ำกว่าเพื่อนนักเรียนในชั้นอย่างชัดเจนและเป็นปัญหาที่กระทบต่อการเรียนอย่างต่อเนื่องเด็ก LD จะมีความสามารถในการเรียนรู้ต่ำกว่าเพื่อนนักเรียนในชั้นอย่างชัดเจนและเป็นปัญหาที่กระทบต่อการเรียนอย่างต่อเนื่อง
อะไรคือสาเหตุของโรค LD·การทำงานของสมองบางตำแหน่งบกพร่อง โดยเฉพาะตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และการใช้ภาษา·กรรมพันธุ์ มีพ่อแม่ หรือญาติพี่น้องมีปัญหาเดียวกัน·ความผิดปกติของโครโมโซม
ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ที่อาจพบร่วมด้วยเด็กมักรู้สึกหงุดหงิดและรู้สึกด้อยที่ตนเองทำไม่ได้ทัดเทียมเพื่อนๆ และอาจจะแสดงพฤติกรรม ดังนี้ หลีกเลี่ยงการอ่านการเขียน·ไม่มีสมาธิในการเรียน ทำงานช้า ทำงานไม่เสร็จทำงานสะเพร่า·ความจำไม่ดี เรียนได้หน้าลืมหลัง·รู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้·ไม่มั่นใจในตนเอง มักตอบว่า ทำไม่ได้” “ไม่รู้
·อารมณ์ ขึ้นๆลงๆ หงุดหงิดง่าย ไม่อดทน-ก้าวร้าวกับเพื่อน พี่น้อง ครู หรือพ่อแม่·ขาดความภาคภูมิใจในตนเอง
ปัญหาเด็ก LD เด็ก LD มีปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ ที่พบร่วมกันได้ถึงร้อยละ 40 – 50 เช่น โรคสมาธิสั้น ความบกพร่องด้านภาษาและการสื่อสาร ปัญหาการประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือและสายตา



เด็กสมาธิสั้น


โรคสมาธิสั้น หรือ โรคเอดีเอชดี (Attention deficit-hyperactivity disorder หรือ ADHD) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการพัฒนาทางระบบสติปัญญา ระบบประสาท และพฤติกรรม โดยอาการหลักๆ ของโรคอาจสังเกตได้ดังนี้ คือ การไม่มีสมาธิจดจ่อ (Inattention) อยู่ไม่นิ่งและซุกซนผิดปกติ (Hyperactivity) หุนพันพลันแล่นและขาดความยับยั้งชั่งใจ (Impulsiveness) อาการเหล่านี้มักปรากฏในเด็กวัยก่อน ขวบ
โรคนี้มักพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 2-3 เท่า ปัจจุบันพบว่าเด็กทั่วโลกร้อยละ 3-5 ป่วยด้วยโรคสมาธิสั้น โดยเป็นเด็กในวัยเรียนถึงร้อยละ 2-16 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้เป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ โรคสมาธิสั้นเป็นโรคที่มักรักษาไม่หาย โดยร้อยละ 30-50 ของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้นตั้งแต่เด็กจะยังคงแสดงอาการดังกล่าวเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ แต่ทั้งนี้การรักษาและวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องและทันท่วงทีสามารถควบคุมอาการของโรคนี้ได้
จากการแบ่งประเภทของสถาบันสุขภาพจิตของสหรัฐอเมริกา (The U.S. 
National
 Institute of Mental Health) โรคสมาธิสั้นอาจแบ่งได้เป็น ประเภทหลักตามอาการของโรคที่แสดงออกมาก ดังนี้
    -ประเภทขาดสมาธิเป็นหลัก (Predominantly Inattentive type)
    -ประเภทอยู่ไม่นิ่งและหุนหันพลันแล่นเป็นหลัก (Predominantly Hyperactive-Impulsive Type)
    -ประเภทมีอาการทั้งสองแบบร่วมกัน (Combined Type)

 เด็กปัญญาเลิศ




เด็กปัญญาเลิศ หมายถึง เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา และความถนัดเฉพาะทางอยู่ระดับสูงกว่าเด็กอื่นในวัยเดียวกัน คำที่ใช้ในความหมายที่มีอยู่หลายคำ เช่น เด็กปัญญาเลิศ  เด็กอัจฉริยะ เด็กฉลาด เด็กมีพรสวรรค์ ฯลฯ เมื่อพูดถึงเด็กปัญญาเลิศ ก็มักนึกถึงเด็กที่เรียนเก่ง สอบได้คะแนนดีหรือถือเอาเรื่องของความถนัดเฉพาะทางซึ่งเรียกกันว่า พรสวรรค์ในด้านที่เห็นได้ชัด เช่น ทางศิลปะ และดนตรีเป็นหลัก ดังนั้นเด็กที่ไม่มีโอกาสแสดงความสามารถไม่ว่าทางใด เช่น เด็กยากจน หรือยู่ในสิ่งแวดล้อมจำกัดไม่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นเด็กมีความสามารถ ก็ไม่มีโอกาสได้ชื่อว่าเป็นเด็กปัญญาเลิศ  แต่เด็กปัญญาเลิศก็ยังคงเป็นเด็กที่มีความต้องการอื่นๆ เหมือนเด็กทั่วๆไป ปัญหาที่พบมักจะเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็กกลุ่มนี้ และไม่สามารถเอื้ออำนวยต่อความต้องการและความสามารถของเด็กได้อย่างเหมาะสม จึงพบปัญหาการปรับตัวได้ เช่น การแยกตัวจากกลุ่มเพื่อน เบื่อหน่ายการเรียนที่ไม่ได้เรียนสิ่งที่ตนเองสนใจ หรือคับข้องใจที่ได้รับการส่งเสริมแต่เพียงการใช้ความสามารถทางเชาวน์ปัญญา แต่ขาดการตอบสนองทางอารมณ์ตามวัย


เด็กออทิสติก


โรค Autism เป็นความผิดปกติในสมอง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก


เรื่องเด็กที่มีอารมณ์รุนแรง
 เด็กน้อยที่รับรู้ถึงความรุนแรงและพฤติกรรมไม่เหมาะสมจากทีวี เพื่อนเล่น พี่ ๆ จากสถานเลี้ยงเด็ก หรือแม้กระทั่งพ่อแม่ของเขาเอง จะทำให้เขาเลียนแบบพฤติกรรมเหล่านั้นได้ เด็กที่เห็นพ่อตะโกนใส่แม่หรือตบตีแม่ เขาจะคิดว่าพฤติกรรมนั้นเป็นพฤติกรรมที่ยอมรับได้ เด็กที่ต้องเผชิญกับพฤติกรรมความรุนแรงหรือการแสดงอาการก้าวร้าวอันธพาลจากสถานเลี้ยงเด็กก็จะแสดงพฤติกรรมคล้ายกันในที่สุดหากสถานการณ์ที่กล่าวมาคล้ายกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับคุณ คุณจำเป็นต้องแก้ไขสถานการณ์ให้ถูกต้อง เพราะนี่คือชีวิตของลูกคุณคงไม่มากไปที่คุณควรทำให้ตัวเองมั่นใจว่าได้เลี้ยงลูกในทางที่ปลอดภัย ให้ความรัก ใจเย็นกับลูก และให้เขาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีและสงบลองหาผู้ที่สามารถให้คำปรึกษาด้านครอบครัวให้กับคุณได้ หรืออาจหาสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับลูกคุณหากจำเป็นหากมีการอันธพาลที่สถานเลี้ยงเด็กและเป็นเหตุให้ลูกคุณกลายเป็นเด็กก้าวร้าว มีอารมณ์รุนแรง และเป็นคนโกรธง่าย ปรึกษาสถานเลี้ยงเด็กว่าจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดพฤติกรรมเช่นนี้ขึ้นอีก หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นคุณอาจจำเป็นต้องย้ายลูกไปสถานเลี้ยงเด็กอื่นความรุนแรงในรูปแบบอื่นที่อาจสร้างปัญหา ซึ่งรวมไปถึงหนังหรือวิดีโอเกม คุณก็ควรสอดส่องดูแลสิ่งที่เข้ามาในบ้านของคุณและดูว่าใครใช้เวลาอยู่กับลูกคุณบ้าง เช่น ห้ามสมาชิกคนอื่นในครอบครัวดูหนังที่มีความรุนแรงเมื่อใช้เวลาอยู่กับลูกน้อยของคุณ

ประเมินหลังการเรียนการสอน

ตนเอง >>>> แต่งกายถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา มีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม

เพื่อน >>>>  แต่งกายถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา นำเสนองานออกมได้ดีทุกกลุ่ม

ผู้สอน >>>  แต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลา มีการแสดงบทบาทให้นักศึกษาเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ชอบมากๆเลยค่ะ ทำให้ห้องเรียนมีสีสัน ไม่น่าเบื่อ 

ครั้งที่ 3


บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ (EAED2209)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.00 น.

วันนี้ไม่มีการเรียนสอน เนื่องจากทางคณะศึกษาศาสตร์ จัดโครงการ "ศึกษาศาสตร์วิชาการ" ณ สนามกีฬาในร่ม              มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม อาจารย์จึงให้นักศึกษาทุกคนเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ด้วย

ครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ (EAED2209)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.00 น.

ความรู้ที่ได้รับ





   เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Early Chidhood with Special Needs)    คือ เด็กที่มีความบกพร่อง  ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ 

นิยาม "เด็กพิเศษ"

1.ทางการแพทย์  คือ เด็กพิการ เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสียสมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความปกพร่องทางกาย
2.ทางการศึกษา  คือ เด็กที่มีความต้องการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา  หลักสูตร กระบวนการใช้และการประเมินผล

พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

- การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆ รวมทั้งตัวบุคคล
- ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

             
สรุป
        
    - เด็กจำเป็นต้องได้รับการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับลักษณะและความต้องการของเด็กแต่ละคน

    -เด็กไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควร จากการให้การช่วยเหลือและการสอนตามปกติ
    -เด็กจำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือ
    -มีสาเหตุมาจากความบกพร่อง

ประเมินหลังการเรียนการสอน

ตนเอง>>>>  แต่งกายถูกระเบียบ  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในห้องเรียน เช่น การตอบ คำถาม
เพื่อน >>>> แต่งกายถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนทุกคนค่ะ
ผู้สอน >>>> แต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลา มีเทคนิคการสอนที่ดี ทำให้นักศึกษาตั้งเรียนและเข้าใจในเนื้อหา