วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 5



บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ (EAED2209)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.00 น.

  เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with Special Need)  อาจจะแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
           
1.  เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน   ( Children  with hearing  impairment ) เด็กที่สูญเสียการได้ยิน  ในระดับหูตึงหรือหูหนวก  ซึ่งอาจจะสูญเสียการได้ยินมาตั้งแต่กำเนิดหรือภายหลังก็ตาม  ซึ่งการได้ยินเริ่มจากหูตึงน้อย  ปานกลาง  ไปจนถึงระดับที่รุนแรง  จนกระทั่งหูหนวก หรือไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ แม้จะมีเสียงดังเพียงใดก็ตาม   

2.  เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น  ( Children  with  visual  impairment ) หมายถึง  เด็กที่สูญเสียการมองเห็นตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนตาบอดสนิท อาจแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
    - เด็กตาบอด
    - เด็กสายตาเลือนลาง สูญเสียการมองเห็นแต่ยังสามารถอ่านตัวหนังสือที่ขยายใหญ่ได้ หรือใช้แว่นขยายอ่าน

3.  เด็กที่มีความความบกพร่องทางสติปัญญา  ( Children  with  intellectual disabilities ) หมายถึง เด็กที่มีสติปัญญาต่ำหว่าเด็กปกติทั่วไป  เมื่อวัดระดับสติปัญญาโดยใช้แบบทดสอบมาตรฐาน  มีข้อจำกัดในทักษะด้านการปรับตัวอย่างน้อย 2  ทักษะใน  10  ทักษะ คือ   การสื่อความหมาย    การดูแลตนเอง    การดำรงชีวิต      ทักษะทางสังคม   การใช้สาธารณสมบัติ   การควบคุมตนเอง   สุขอนามัยและความปลอดภัย    การเรียนวิชาการเพื่อการดำรงชีวิต   การใช้เวลาว่าง   การทำงาน 
ทั้งนี้ภาวะความบกพร่องทางสติปัญญานี้ต้องเกิดขึ้นก่อนอายุ 18 ปี  ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
                - เด็กเรียนรู้ช้า หมายถึง เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าปกติ จะมีระดับเชาว์ปัญญา (I.Q) 71-90 ซึ่งขาดทักษะในการเรียนรู้หรือมีความบกพร่องทางสติปัญญาเล็กน้อย
               - เด็กปัญญาอ่อน หมายถึง เด็กที่มีเชาว์ปัญญาต่ำกว่า 70 มีความสามารถในการเรียนรู้น้อย มีพัฒนาการทางกายล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย  แบ่งระดับความบกพร่องได้เป็น  4  ระดับ   คือ
ระดับที่ 1     ขั้นเล็กน้อย           ระดับ  I.Q.  50 – 60 
ระดับที่ 2     ขั้นเล็กปานกลาง    ระดับ  I.Q.  35 – 49 
ระดับที่ 3     ขั้นรุนแรง              ระดับ  I.Q.  20 – 34 
ระดับที่ 4     ขั้นรุนแรงมาก        ระดับ  I.Q.  น้อยกว่า 20 

4.  เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้  ( Children  with  learning  disabilities )   หมายถึง  เด็กที่มีความบกพร่องในขบวนการทางจิตวิทยาทำให้มีปัญหาด้านการใช้ภาษา  ด้านการฟัง   การพูด  การอ่านและการเขียน  และการสะกดคำหรือมีปัญหาการเรียนวิชาคณิตศาสตร์  ซึ่งปัญหาดังกล่าวไม่ได้มีสาเหตุมาจากความบกพร่องทางร่างกาย    ทางการเห็น  ทางการได้ยิน   ทางสติปัญญา อามรณ์และสภาพแวดล้อม   

            5.  เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ  ( Children  with  physical  impairment ) หมายถึง เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน  อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายหรือหลายส่วนขาดหายไป  กระดูกและกล้ามเนื้อพิการ  เจ็บป่วยเรื้อรัง  รุนแรง  มีความพิการของระบบประสาท (nervous  system) มีความยากลำบากในการเคลื่อนไหว    

6.  เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ ( Children  with  behavior  disorders )  หมายถึง เด็กที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้ คือ เด็กที่ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเดียวกับเด็กปกติทั่วไป  แต่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากองค์ประกอบทางสติปัญญา   การรับรู้  ความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ  ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อนได้ มีพฤติกรรมมาเหมาะสมกับเพศและวัย  มีปัญหาทางอารมณ์  หรือแสดงอาการเจ็บป่วย  โดยมีสาเหตุมาจากจิตใจ  ได้แก่ความวิตกกังวล  หรือหวาดกลัว  เป็นต้น ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมอาจจะปรากฏเพียงลักษณะหนึ่งหรือมากกว่านั้นก็ได้  แต่ต้องเกิดขึ้นเป็นเวลานานพอสมควร 

7.  เด็กที่มีความบกพร่องทางการสื่อความหมาย ( Children with communication disorders)   หมายถึง  เด็กที่มีความบกพร่องในการเข้าใจหรือการใช้ภาษาพูดจนไม่สามารถสื่อความหมายกับผู้อื่นได้ตามปกติ เช่น  การพูดไม่ชัด  จังหวะการพูดไม่ดี  คุณภาพของเสียงผิดปกติ   ตลอดจนการพูดผิดปกติที่เกิดจากการมีพยาธิของระบบประสาทส่วนกลาง หรือระบบประสาทส่วนปลาย  รวมทั้งอะเฟเซีย  ซึ่งมีความบกพร่องทั้งในด้านการรับรู้และการแสดงออกทางภาษา เป็นต้น 

8.  เด็กออทิสติก  ( Children  with  autism )   หมายถึง  เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าหรือถดถอยแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมในลักษณะแปลก ๆ  เช่น  หลีกเลี่ยงการมองหน้าผู้อื่น   ไม่สบตา  การแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ต่อเสียงที่ได้ยิน  การสัมผัส  หรือความเจ็บป่วยในลักษณะที่มากเกินไป หรือน้อยเกินไปหรือไม่แสดงปฏิกิริยาตอบโต้ต่อสิ่งเร้าใด ๆ ทั้งสิ้นแสดงอาการสนใจต่อสิ่งแวดล้อม  มีปัญหาด้านการพูดและภาษาไม่สามารถแสดงการตอบโต้กับคน  สิ่งของ   หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้

9.  เด็กที่มีความพิการซ้ำซ้อน  ( Children  with  multiple  handicapped )   หมายถึง  เด็กที่มีสภาพความพิการตั้งแต่สองอย่างขึ้นไปในบุคคลเดียวกัน  เช่น เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา รวมทั้งสูญเสียการได้ยิน  หรือเด็กที่ตาบอดและสูญเสียการได้ยิน  เป็นต้น   และสภาพความพิการนี้จะส่งผลให้เกิดการด้อยความสามารถในการดำรงชีวิต ทั้งเป็นอุปสรรคต่อการได้รับการศึกษา

10.  เด็กสมาธิสั้น  ( Children  with  attention  deficit / hyperactivity  disorders ) หมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติทางพฤติกรรมชนิดหนึ่ง  ได้แก่  การขาดสมาธิ  ( inattention)  พฤติกรรมซุกซนอยู่ไม่นิ่ง  (hyperactivity ) ขาดความยับยั้งชั่งใจหุนหันพลันแล่น ทำอะไรไม่คิดให้รอบคอบ  และพฤติกรรมที่แสดงออกไม่เหมะสมกับวัย   หรือระดับพัฒนาการและต่อเนื่องนานเกิน 6  เดือนขึ้นไป พฤติกรรมเล่านี้ปรากฏก่อนอายุ  7 ปี  และมีความรุนแรงส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน การเรียนการปรับตัวในสังคม  พฤติกรรมเหล่านี้ต้องเกิดอย่างน้อยในสองสถานการณ์ขึ้นไป  เช่น  ที่บ้านและที่โรงเรียน

  11.  เด็กที่มีความสามารถพิเศษ  ( Children  with  gifted / talented )  หมายถึง เด็กที่แสดงออกซึ่งความสามารถอันโดดเด่นด้านด้านหนึ่ง  หรือหลายด้านในด้านสติปัญญา  ความคิดสร้างสรรค์   การใช้ภาษา การเป็นผู้นำ   การสร้างงานด้านศิลปะ  การแสดงความสามารถทางดนตรี  ความสามารถทางกีฬา   และความสามารถทางวิชาการในสาขาใดสาขาหนึ่ง   หรือหลายสาขาอย่างเป็นที่ประจักษ์  เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กอื่นที่มีอายุระดับเดียวกัน  สภาพแวดล้อมเดียวกัน  







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น